510. เป็นไปได้หรือที่จะภาวนาอยู่เสมอ
การภาวนาเป็นไปได้เสมอ การภาวนาเป็นสิ่ง จำเป็นสำหรับชีวิต การภาวนาและชีวิตแยกออกจากกัน ไม่ได้ (2742-2745, 2757)
การภาวนาเป็นไปได้เสมอ การภาวนาเป็นสิ่ง จำเป็นสำหรับชีวิต การภาวนาและชีวิตแยกออกจากกัน ไม่ได้ (2742-2745, 2757)
ผู้ภาวนาไม่ได้หนีจากความเป็นจริง แต่เขาเปิด ตาสู่ความเป็นจริงทั้งหมด และได้รับพละกําลังจาก พระเจ้า ผู้ทรงสรรพานุภาพ ในการรับมือกับความเป็นจริงได้
ความว้าวุ่นใจระหว่างการภาวนา ความรู้สึกว่าง เปล่า และแห้งแล้งภายในจิตใจ และแม้กระทั่งความ ไม่อยากภาวนาล้วนเป็นประสบการณ์ของทุกคนที่ ภาวนา แต่ความพากเพียรต่อไปอย่างซื่อสัตย์ก็ถือเป็น การภาวนาแล้ว (2729-2733)
การภาวนามิได้เป็นการแสวงหาความสําเร็จ เพียงผิวเผิน แต่แสวงหาพระประสงค์ของพระเจ้าและ ความสนิทสัมพันธ์กับพระองค์ ความเงียบของพระเจ้า เชื้อเชิญเราให้ก้าวไปสู่สิ่งที่ท้าทายมากขึ้น ในการอุทิศ ตนเองอย่างสิ้นเชิง ในความเชื่อที่ไร้ขอบเขต และใน ความหวังที่ไม่สิ้นสูญ ผู้ภาวนาต้องยอมให้พระเจ้าทรงมีเสรีภาพสมบูรณ์ที่จะตรัสกับมนุษย์เมื่อทรงปรารถนา
คุณลักษณะที่โดดเด่นของการภาวนา คือความ จริงที่ว่า บุคคลออกจาก “ฉัน” ไปสู่ “ท่าน” ออกจาก การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางสู่การเปิดกว้างอย่างสิ้นเชิง ผู้ที่ภาวนาอย่างแท้จริงจะมีประสบการณ์ถึงความจริงที่ว่า พระเจ้าตรัส และบ่อยครั้งพระองค์มิได้ตรัสอย่างที่เรา คาดหวังและต้องการ
ผู้นําฝ่ายจิตในทุกยุคทุกสมัย ได้อธิบายถึงการเติบโตในความเชื่อและในความรักต่อพระเจ้า ว่าเป็น เหมือนการต่อสู้ฝ่ายจิต ระหว่างชีวิตและความตายสนามรบคือชีวิตภายในของมนุษย์ อาวุธของคริสตชนคือการ ภาวนา เราอาจปล่อยให้ตัวเองพ่ายแพ้เพราะความเห็น แก่ตัว และหมกมุ่นอยู่กับสิ่งไร้ค่าจนเกินไป หรือเรา จะเอาชนะและรับองค์พระผู้เป็นเจ้าเข้ามา (2725-2752)
ในการรำพึง คริสตชนแสวงหาความเงียบ เพื่อมีประสบการณ์ใกล้ชิดกับพระเจ้า และเพื่อพบ ความสงบในการประทับอยู่ของพระองค์ เขาหวังมี ประสบการณ์ที่จะสัมผัสถึงการประทับอยู่ของพระองค์ ซึ่งมิใช่เป็นผลจากวิธีการภาวนา แต่เป็นพระหรรษทาน ที่ประทานแบบให้เปล่า
จิตภาวนา คือความรัก ความเงียบ การฟัง และ ดํารงในการประทับอยู่ของพระเจ้า (2709-2719, 2724)
แก่นแท้ของการรําพึง คือการพิจารณาไตร่ตรอง ด้วยการภาวนา ที่เริ่มต้นด้วยข้อความในพระคัมภีร์ หรือ รูปภาพศักดิ์สิทธิ์ และพินิจพิเคราะห์ถึงพระประสงค์ เครื่องหมาย และการประทับอยู่ของพระเจ้า (27052708)
ประการแรก การภาวนาคือการยกจิตใจขึ้นหา พระเจ้า พระเยซูเจ้าเองทรงสอนบรรดาศิษย์ของ พระองค์ให้ภาวนาด้วยถ้อยคําต่าง ๆ พระองค์ทรงมอบ บทข้าแต่พระบิดาแก่เรา ซึ่งเป็นการภาวนาออกเสียงที่สมบูรณ์ เสมือนเป็นมรดกให้เราเห็นว่าควรภาวนา อย่างไร (2700-2704, 2722)
ใช่ มีทั้งการภาวนาออกเสียง การรําพึง และจิตภาวนา การภาวนาทั้งสามวิธีนี้เรียกร้องการสํารวม ความคิดและจิตใจ (2699, 2721)
ตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม บรรดาคริสตชนภาวนาอย่าง น้อยที่สุดในตอนเช้า มื้ออาหาร และในเวลาเย็น คนที่ ไม่ภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ในไม่ช้าก็จะไม่ภาวนาเลย (2697-2698, 2720)
ใช่ เราภาวนาที่ใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม คาทอลิกมักแสวงหาสถานที่ซึ่งเป็น “ที่ประทับ” ของพระเจ้า ในลักษณะพิเศษที่สําคัญ คือวัดคาทอลิกซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงประทับอยู่ใน ตู้ศีลภายใต้รูปปรากฏ ของปัง (2691, 2696)
นักบุญคือผู้ที่ลุกโชติช่วงด้วยพระจิตเจ้า พวกท่านรักษาไฟของพระเจ้าที่ลุกอยู่ในพระศาสนจักร แม้ในขณะที่บรรดานักบุญมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ท่านภาวนาอย่าง ร้อนรน และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น เมื่อเราอยู่ใกล้ชิด กับพวกท่าน จึงเป็นการง่ายที่จะภาวนา แน่นอนว่า เรามิได้นมัสการบรรดานักบุญ แต่เราได้รับอนุญาตให้ วอนขอพวกท่านที่อยู่ในสวรรค์
พระคัมภีร์กล่าวว่า “เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้อง อธิษฐานภาวนาขอสิ่งใดที่เหมาะสม แต่พระจิตเจ้าทรง อธิษฐานภาวนาวอนขอแทนเราด้วยถ้อยคําที่ไม่อาจ บรรยาย” (รม 8:26)
คําภาวนาของเรา ซึ่งถวายในพระนามของ พระเยซูเจ้า ไปถึงที่หมายเดียวกับคําภาวนาของพระเยซูเจ้า คือไปถึงพระทัยของพระบิดาเจ้าสวรรค์ (2664–2669, 2680–2681)
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ทุกอย่างที่เราพบ คือโอกาสการภาวนายิ่งเรามีชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าลึกซึ้งมาก เท่าใด เรายิ่งมีความเข้าใจโลกรอบตัวเรามากขึ้นเท่านั้น (2659–2660)
การภาวนาของคริสตชน คือการภาวนาใน ท่าทีของความเชื่อ ความหวัง และความรัก เป็นความพากเพียรอดทน และยอมกระทําตามพระประสงค์ของ พระเจ้า (2656-2658, 2662)
การนมัสการของสาธารณชนในพระศาสนจักร ทั้งการทําวัตร พิธีบูชาขอบพระคุณ และบทภาวนา ทั่วไปล้วนมาจากพระคัมภีร์ หรือธรรมประเพณีของพระศาสนจักร ซึ่งรวมบุคคลเข้ากับการภาวนาของชุมชน ในพระศาสนจักร (2655-2658, 2662)
พระคัมภีร์เป็นเสมือนน้ำพุแห่งการภาวนา การสวดภาวนาด้วยพระวาจาของพระเจ้า หมายถึงการอาจาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ ให้เป็นการภาวนาของตนเอง “การไม่รู้จักพระคัมภีร์ คือการ ไม่รู้จักพระคริสตเจ้า” (นักบุญเยโรม) (2652-2653)
ไม่เพียงพอ ผู้ที่ภาวนาเมื่อรู้สึกอยากภาวนา ไม่ ได้ยึดพระเจ้าอย่างจริงจัง และจะทอดทิ้งการภาวนาไป การภาวนาต้องเจริญก้าวหน้าในความสัตย์ซื่อ (2650)
พระเจ้าไม่ต้องการคําสรรเสริญ แต่เราจําเป็น ต้องแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติถึงความสุขใจใน พระเจ้า และความชื่นชมยินดีในหัวใจ เราสรรเสริญ พระเจ้าเพราะพระองค์ทรงดํารงอยู่ และเพราะพระองค์ ทรงเป็นองค์ความดีงาม ดังนั้น เราจึงเข้าร่วมในการ สรรเสริญนิรันดรของบรรดาทูตสวรรค์ และบรรดา นักบุญในสวรรค์ตั้งแต่บัดนี้ (2639-2642) - 28
ทุกสิ่งที่เราเป็นและทุกสิ่งที่เรามีมาจากพระเจ้านักบุญเปาโลกล่าวว่า “ท่านมีอะไรบ้างที่ไม่ได้รับ” (1คร 4:7) จงขอบพระคุณพระเจ้า ผู้ทรงประทานสิ่ง ดีทุกอย่าง ผู้ทรงทําให้เรามีความสุข (2637-2638, 2648)
ดังเช่นที่อับราฮัมภาวนาอ้อนวอนเพื่อชาวเมือง โสดม และพระเยซูเจ้าทรงภาวนาเพื่อบรรดาศิษย์ของพระองค์ และในชุมชนคริสตชนยุคแรก ๆ เห็นว่า “อย่าเห็นแก่ผลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จงเห็นแก่ผลประโยชน์ของผู้อื่นด้วย” (ฟป 2:4) ดังนั้น คริสตชนก็เช่นกันควรภาวนาอยู่เสมอเพื่อทุกคน เพื่อ ผู้เป็นที่รักเพื่อผู้ที่มิได้ใกล้ชิด และแม้แต่เพื่อผู้ที่เป็น ศัตรู (2634-2636, 2647)