527. ทําไมเราจึงจบบทข้าแต่พระบิดาด้วยคําว่า“อาแมน”
นับตั้งแต่สมัยโบราณกาล คริสตชนและชาวยิว ต่างจบบทภาวนาของตนด้วยคําว่า “อาแมน” ซึ่งหมายถึง “ขอให้เป็นไปตามนั้นเทอญ” (2855-2856, 2865)
นับตั้งแต่สมัยโบราณกาล คริสตชนและชาวยิว ต่างจบบทภาวนาของตนด้วยคําว่า “อาแมน” ซึ่งหมายถึง “ขอให้เป็นไปตามนั้นเทอญ” (2855-2856, 2865)
“ความชั่วร้าย” ในบทข้าแต่พระบิดามิได้หมาย ถึงพลังฝ่ายจิตหรือพลังเชิงลบ แต่เป็นความชั่วร้ายใน บุคคลซึ่งพระคัมภีร์เรียกว่า “ผู้ล่อลวง” “บิดาแห่งการ โกหก” ซาตาน หรือมารร้าย (2850-2854, 2864)
เพราะเหตุว่าทุกวันและทุกชั่วโมง เราเสี่ยงที่ จะตกอยู่ในบาป และการปฏิเสธต่อพระเจ้า เราจึงอ้อน วอนขอพระเจ้าอย่าปล่อยให้เราไม่มีที่พึ่ง เมื่อตกอยู่ใน อํานาจการผจญ (2846-2849)
การให้อภัยด้วยเมตตาที่เราแสดงต่อผู้อื่น และ ความเมตตาซึ่งเราแสวงหาเพื่อตัวเองนั้น แยกออกจาก กันไม่ได้ หากเราเองไม่เมตตากรุณาและไม่ให้อภัยแก่กันและกัน พระเมตตาของพระเจ้าก็จะไม่มาสู่ใจของเรา เช่นกัน (2838-2845,2862)
“มนุษย์มิได้ดํารงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น แต่ดํารงชีวิตด้วยพระวาจาทุกคําที่ออกจากโอษฐ์ของพระเจ้า” (มธ 4:4 อ้างถึง ฉธบ 8:3) (2835)
การอ้อนวอนขออาหารประจําวัน ทําให้เรากลาย เป็นประชากร ที่รอคอยทุกอย่างจากพระทัยดีของ พระบิดาเจ้าสวรรค์ ทั้งด้านวัตถุและจิตใจที่จําเป็นต่อชีวิต ไม่มีคริสตชนคนใดภาวนาวอนขอเช่นนี้ได้ โดยไม่คิด ถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่ขาดสิ่งจําเป็นขั้นพื้นฐานใน ชีวิตบนโลกใบนี้ (2828-2834, 2861)
เมื่อเราภาวนาให้พระประสงค์ของพระเจ้าสําเร็จ ไปในสากลจักรวาล หมายความว่า เราขอให้เป็นเช่น เดียวกันในโลก และในจิตใจของเรา เหมือนดังที่เกิด ขึ้นในสวรรค์ (2822-2827, 2860)
เมื่อเราภาวนาว่า “พระอาณาจักรจงมาถึง” เรา ขอให้พระคริสตเจ้าเสด็จกลับมาอีก ดังที่ทรงสัญญาไว้ และเพื่ออํานาจการปกครองของพระเจ้า ซึ่งได้เริ่มต้น แล้วบนแผ่นดินนี้ จะได้สําเร็จเป็นจริงในที่สุด (28162821, 2859)
การ “สักการะ” หรือปฏิบัติต่อพระนามอัน กดสิทธิของพระเจ้า หมายถึง การให้พระองค์ทรง อยู่เหนือทุกสิ่ง (2807-2815, 2858)
สวรรค์คือทุกแห่งที่พระเจ้าประทับอยู่ คําว่า “สวรรค์” มิได้กําหนดสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แต่บ่งบอกถึงการประทับอยู่ของพระเจ้า ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับสถานที่ และเวลา (2794-2796, 2803)
บทข้าแต่พระบิดา ทําให้เรารู้สึกชื่นชมยินดีว่าเรา เป็นบุตรของพระบิดาเดียวกัน กระแสเรียกร่วมกันของเราคือการสรรเสริญพระบิดา และมีชีวิตอยู่ร่วมกัน “เป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน” (กจ 4:32) (2787-2791, 2801)
บ่อยครั้ง บิดาและมารดาที่เป็นมนุษย์บิดเบือน ภาพลักษณ์ของพระเจ้าพระบิดาผู้พระทัยดี อย่างไรก็ตามพระบิดาของเราในสวรรค์ไม่เหมือนบิดามารดา ที่เป็นมนุษย์ เราต้องชําระภาพลักษณ์ของพระเจ้าให้ บริสุทธิ์จากความคิดที่คับแคบของเรา เพื่อพบพระองค์ ในความไว้วางใจที่ปราศจากเงื่อนไข (2779)
เรากล้าที่จะกล่าวถึงพระเจ้าว่าทรงเป็นพระบิดา ได้ เพราะพระเยซูเจ้าเองทรงเรียกเราให้มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับพระองค์ และทรงทําให้เราเป็นบุตรของพระเจ้า ในความเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ “ผู้สถิตในพระอุระ ของพระบิดา” (ยน 1:18) เราจึงได้รับสิทธิพิเศษที่ จะเรียกร้องว่า “อับบา พ่อจ๋า” (2777-2778, 2797-2800) → 37
บทข้าแต่พระบิดาเป็น “บทภาวนาที่สมบูรณ์แบบที่สุด” (นักบุญโทมัส อไควนัส) และเป็น “การ สรุปพระวรสารทั้งครบ” (Tertulian) (2761-2772, 2774, 2776)
บทข้าแต่พระบิดา ประกอบด้วยคําวอนขอ 7 ประการ ต่อพระบิดาในสวรรค์ผู้ทรงพระเมตตา คําขอ 3 ประการแรกสัมพันธ์กับพระเจ้าและวิธีการรับใช้ พระองค์ ส่วนคําขอ 4 ประการสุดท้าย นําเสนอความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ต่อพระบิดาเจ้าในสวรรค์ (2803–2806, 2857)
บทข้าแต่พระบิดาเกิดขึ้นเมื่อศิษย์คนหนึ่งของพระเยซูเจ้าเห็นพระอาจารย์ของเขากําลังภาวนา และต้องการเรียนรู้การภาวนาอย่างถูกต้องจากพระองค์เอง จึงขอร้องให้พระองค์ทรงสอนให้ → 477
ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย