468. บุคคลควรปรารถนาสิ่งใดมากที่สุด

468. บุคคลควรปรารถนาสิ่งใดมากที่สุด

สิ่งดีที่สุดและความปรารถนายิ่งใหญ่ที่สุดของ บุคคล คือพระเจ้าเท่านั้น การได้พบพระองค์ พระผู้สร้าง องค์พระผู้เป็นเจ้า และพระผู้ไถ่กู้ คือพระพรที่ไม่มีวันสิ้นสูญ (2548-2550, 2557) → 285

467. ทำไมพระเยซูเจ้าทรงเรียกร้องให้เราปฏิบัติ “ความยากจนในจิตใจ”

467. ทำไมพระเยซูเจ้าทรงเรียกร้องให้เราปฏิบัติ “ความยากจนในจิตใจ”

“แม้ทรงร่ำรวย พระองค์ก็ยังทรงยอมกลาย เป็นคนยากจน เพราะเห็นแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้ ร่ำรวย เพราะความยากจนของพระองค์” (2 คร 8:9) (2544-2547, 2555-2557)

466. ความอิจฉาคืออะไรเราจะต่อสู้กับความอิจฉาอย่างไร

466. ความอิจฉาคืออะไรเราจะต่อสู้กับความอิจฉาอย่างไร

ความอิจฉาคือความรู้สึกเศร้าและไม่พอใจ เมื่อเห็นความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อื่น และอยากยึดเอาของผู้อื่นมาอย่างอยุติธรรม ผู้ที่ปรารถนาให้ผู้อื่นประสบสิ่งไม่ดี ถือว่ากระทําบาปหนักความอิจฉาจะลดลง เมื่อเราพยายามชื่นชมยินดีให้มากขึ้นใน ความสําเร็จและพรสวรรค์ของผู้อื่นเมื่อเรามีความ เชื่อในพระญาณเอื้ออาทรที่เปี่ยมด้วยเมตตาของพระเจ้า

465. คริสตชนควรมีทัศนคติต่อทรัพย์สินของผู้อื่นอย่างไร

465. คริสตชนควรมีทัศนคติต่อทรัพย์สินของผู้อื่นอย่างไร

คริสตชนควรเรียนรู้ที่จะแยกแยะความ ปรารถนาที่เหมาะสม ออกจากความปรารถนาที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง และควรมีทัศนคติภายในที่เคารพต่อทรัพย์สินของผู้อื่น (2534-2537, 2552)

464. ความละอายใจมีข้อดีอย่างไร

464. ความละอายใจมีข้อดีอย่างไร

ความละอายใจช่วยปกป้องพื้นที่ส่วนลึกที่สุดของบุคคล ได้แก่ ความเร้นลับ ความเป็นส่วน ตัวและความเป็นตัวตนที่ลึกที่สุด ตลอดจนศักดิ์ศรีของเขา โดยเฉพาะความสามารถที่จะรักและการมอบ ตนเองในเพศสัมพันธ์ ความละอายใจสัมพันธ์เกี่ยว ข้องกับสิ่งที่ความรักมองเห็นเท่านั้น (2521-2525 ,2533)

463. จะบรรลุถึงความบริสุทธิ์ของหัวใจได้อย่างไร

463. จะบรรลุถึงความบริสุทธิ์ของหัวใจได้อย่างไร

ความบริสุทธิ์ของหัวใจเรียกร้องความรักซึ่ง เป็นสิ่งแรกในความสัมพันธ์หนึ่งเดียวกับพระเจ้าในการอธิษฐานภาวนา เมื่อพระหรรษทานของพระเจ้า สัมผัสเราย่อมก่อให้เกิดเส้นทางไปสู่ความรักของมนุษย์ที่บริสุทธิ์ และไม่แบ่งแยกผู้บริสุทธิ์สามารถ รักด้วยหัวใจที่จริงใจ และไม่แบ่งแยก (2520, 2532)

462. ทําไมพระบัญญัติประการที่เก้าจึงห้ามความปรารถนาทางเพศ

462. ทําไมพระบัญญัติประการที่เก้าจึงห้ามความปรารถนาทางเพศ

สิ่งที่พระบัญญัติประการที่เก้าห้าม ไม่ใช่ความปรารถนา แต่เป็นความปรารถนาที่ไร้ระเบียบ เป็น “ความละโมบ” ที่ขัดกับคำเตือนในพระคัมภีร์ ซึ่งก็คือแรงกระตุ้นที่อยู่เหนือจิตใจเป็นอํานาจความปรารถนาที่อยู่เหนือบุคคล และเป็นต้นเหตุของบาป (2514, 2515, 2528, 2529)

461. ศิลปะเป็นสื่อกลางระหว่างความงามและความจริงอย่างไร

461. ศิลปะเป็นสื่อกลางระหว่างความงามและความจริงอย่างไร

ความจริงและความงามเป็นของกันและกัน พระเจ้าทรงเป็นแหล่งที่มาของความงาม และความจริงด้วย ศิลปะซึ่งอุทิศให้กับความงาม จึงเป็นหนทาง พิเศษสู่ทุกสิ่งและสู่พระเจ้า (2500-2503, 2513)

460. อันตรายที่เกิดจากสื่อคืออะไร

460. อันตรายที่เกิดจากสื่อคืออะไร

ผู้คนจํานวนมาก โดยเฉพาะเด็ก คิดว่าสิ่งที่ พวกเขาเห็นในสื่อเป็นความจริง ถ้าสื่อนำเสนอ ยกย่องความรุนแรงในความบันเทิง หรือยอมรับพฤติกรรมต่อต้านสังคม และเห็นว่าพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์เป็นเรื่องไม่สำคัญ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นบาปของผู้ที่อยู่ในสื่อ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ และเป็นผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล ที่ต้องหยุดยั้งสิ่งเหล่านี้ (2496, 2512)

459. ความรับผิดชอบทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือสื่อสารคืออะไร

459. ความรับผิดชอบทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือสื่อสารคืออะไร

ผู้ผลิตสื่อต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคสื่อเหนืออื่นใดพวกเขาต้องแจ้งข่าวสารตามที่เป็นจริงในการรวบรวมและการออกข่าวที่เป็นจริง สิทธิและศักดิ์ศรีส่วนบุคคลต้องได้รับการเคารพ (2493-2499)

457. ทําไมการพูดความจริงจําเป็นต้องละเอียดรอบคอบ

457. ทําไมการพูดความจริงจําเป็นต้องละเอียดรอบคอบ

การสื่อสารความจริงต้องกระทําอย่างรอบคอบภายในบริบทของความรัก บ่อยครั้งที่ความจริงกวัดแกว่งเหมือนอาวุธ ดังนั้น จึงมีผลทําลายล้างมากกว่า ที่จะมีผลสร้างสรรค์ (2488-2489 , 2491)

455. ความสัตย์จริงหมายความว่าอะไร

455. ความสัตย์จริงหมายความว่าอะไร

ความสัตย์จริงหมายถึงการกระทําอย่างจริงใจ และพูดอย่างสุจริตใจ ผู้สัตย์จริงจะห่างไกลจากการเสแสร้ง การบิดเบือนความจริง การหลอกลวงที่เป็นอันตราย และความหน้าไหว้หลังหลอก รูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของความไม่ซื่อสัตย์ คือการเป็นพยานเท็จ (2468, 2476)

454. หน้าที่ของเราในการเป็นพยานยืนยันความจริงเรื่องความเชื่อมีมากน้อยอย่างไร

454. หน้าที่ของเราในการเป็นพยานยืนยันความจริงเรื่องความเชื่อมีมากน้อยอย่างไร

คริสตชนทุกคนต้องเป็นพยานถึงความจริง ในการติดตามพระคริสตเจ้า พระองค์ตรัสต่อหน้า ปิลาตว่า “เรามาในโลกนี้เพื่อเป็นพยานถึงความจริง ผู้ใดอยู่ฝ่ายความจริงก็ฟังเรา” (ยน18:37) (24722474)

453. ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อพระเจ้าในเรื่องความจริงคืออะไร

453. ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อพระเจ้าในเรื่องความจริงคืออะไร

การดําเนินชีวิตในความเคารพต่อความจริง มิได้หมายถึงเพียงเป็นจริงกับตนเองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเป็นคนสุจริต ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า เพราะพระองค์ทรงเป็นบ่อเกิดของความจริงทั้งปวง เราพบความจริงเกี่ยวกับพระเจ้า และความจริงทั้งหมดได้ โดยตรงจากพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็น “หนทาง ความจริง และชีวิต” (ยน 14:6) (2465-2470, 2505)

452. พระบัญญัติประการที่แปดเรียกร้องอะไรจากเรา

452. พระบัญญัติประการที่แปดเรียกร้องอะไรจากเรา

พระบัญญัติประการที่แปด สอนเราไม่ให้โกหก การโกหกหมายถึง การพูดหรือกระทําสิ่งที่ขัดกับความจริงอย่างรู้ตัวและตั้งใจ ผู้ที่โกหกย่อมหลอกลวงตนเอง และทําให้ผู้อื่นที่มีสิทธิรู้ความจริงทั้งหมดเข้าใจผิดไปด้วย (2464, 2467-2468, 2483, 24852486)

451. งานเมตตาจิตด้านจิตใจคืออะไร

451. งานเมตตาจิตด้านจิตใจคืออะไร

งานเมตตาจิตด้านจิตใจ คือ ให้คําแนะนําแก่ผู้ไม่รู้ ให้คําปรึกษาแก่ผู้สงสัย บรรเทาผู้มีความทุกข์ ตักเตือนคนบาป อดทนต่อผู้กระทำผิด ให้อภัยแก่ทุกคนที่ทําร้าย และสวดภาวนาให้ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และผู้ที่มีชีวิตอยู่และผู้ที่สิ้นใจไปแล้ว

450. งานเมตตาจิตด้านร่างกายคืออะไร

450. งานเมตตาจิตด้านร่างกายคืออะไร

คือการให้อาหารแก่ผู้หิวโหย ให้น้ำดื่มแก่ผู้กระหาย ให้เสื้อผ้าแก่ผู้เปลือยเปล่าให้ที่พักอาศัยแก่ผู้ไร้ที่อยู่เยี่ยมเยียนผู้ป่วยและผู้ถูกจองจํา และ การฝังผู้ตาย

449. คนยากจนมีไว้เพื่อคริสตชนหมายความว่าอย่างไร

449. คนยากจนมีไว้เพื่อคริสตชนหมายความว่าอย่างไร

ความรักต่อผู้ยากจนต้องเป็นเครื่องหมายเด่นชัดสําหรับคริสตชนในทุกยุคสมัย คนจนสมควรได้รับไม่เพียงแค่การให้ทานเท่านั้น แต่จําเป็นต้องได้รับความยุติธรรมด้วย คริสตชนมีหน้าที่พิเศษในการแบ่งปันทรัพย์สินที่มี องค์พระคริสตเจ้าเป็นแบบ อย่างของเราในความรักต่อผู้ยากจน (2443-2446) → 427

448. ความยากจนและการด้อยพัฒนาเป็นชะตากรรมที่หนีไม่พ้นหรือ

448. ความยากจนและการด้อยพัฒนาเป็นชะตากรรมที่หนีไม่พ้นหรือ

พระเจ้าทรงมอบความมั่งคั่งบนแผ่นดินให้แก่เรา เพื่อให้มนุษย์ทุกคนมีอาหารเพียงพอ และมีพื้นที่อยู่อาศัย แต่ในภูมิภาค ประเทศ และทวีป ยังมีคนจํานวนมากที่แทบไม่มีสิ่งจําเป็นในการ ดํารงชีวิต มีสาเหตุที่ซับซ้อนทางประวัติศาสตร์ที่ก่อ ให้เกิดการแบ่งแยกเช่นนี้ในโลก แต่ไม่ใช่สิ่งที่แก้ไขไม่ได้ ประเทศที่ร่ำรวยมีภาระผูกพันทางศีลธรรม

447. โลกาภิวัตน์เป็นเรื่องเฉพาะทางการเมืองและเศรษฐกิจหรือ

447. โลกาภิวัตน์เป็นเรื่องเฉพาะทางการเมืองและเศรษฐกิจหรือ

เคยมีความคิดเรื่องการแบ่งหน้าที่การ ทำงาน กล่าวคือเศรษฐกิจควรสนใจแต่ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้น และการเมืองควรสนใจแต่การแจกจ่ายอย่างยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกาภิวัตน์ ผลกําไรคือได้กันทั่วโลก ขณะที่การเมืองยังจํากัดอยู่ในขอบเขตประเทศเท่านั้น ดังนั้น สิ่งจําเป็นในปัจจุบันไม่ใช่เพียงแค่สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันทางการเมืองข้ามชาติเท่านั้น

446. พระศาสนจักรกล่าวถึงโลกาภิวัตน์อย่างไร

446. พระศาสนจักรกล่าวถึงโลกาภิวัตน์อย่างไร

โลกาภิวัตน์ในตัวเองนั้นไม่ดีและไม่เลว แต่เป็น “กระบวนการที่เกิดขึ้นในประเทศที่รุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ และครอบคลุมเศรษฐกิจทุกประเภท เป็นพลังหลักที่ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังการหลุดพ้น จากความด้อยพัฒนาในภูมิภาคต่าง ๆ และเปิดโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้แก่เรา ถึงกระนั้นก็ตาม หากปราศจากการชี้นําของความรักเมตตาในความจริงแล้ว

445. หลักที่ว่า “แรงงานต้องมาก่อนทุน” หมายความว่าอย่างไร

445. หลักที่ว่า “แรงงานต้องมาก่อนทุน” หมายความว่าอย่างไร

พระศาสนจักรสอนอยู่เสมอถึง “หลักการที่ว่า แรงงานสําคัญกว่าทุน” (พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 “การทํางาน Lavorem Exercens”) คนเป็นเจ้าของเงินหรือทุนในฐานะที่เป็นสิ่งของ ส่วนแรงงาน นั้นมิอาจแยกออกจากบุคคลที่ทํางานได้ ด้วยเหตุนี้ ความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานจึงมีความสําคัญกว่าผลประโยชน์ของเงินทุน