278. จุดประสงค์ของการฝังศพของคริสตชนคืออะไร

278. จุดประสงค์ของการฝังศพของคริสตชนคืออะไร

การฝังศพของคริสตชน เป็นการใช้บริการของชุมชนคริสตชน เพื่อประโยชน์ของผู้ตาย แสดงถึงความเศร้าโศกของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ตามการฝังศพนั้นต้องมีลักษณะปัสกาอยู่เสมอ เราตายในพระคริสตเจ้า ดังนั้น เราจึงสามารถเฉลิมฉลองกับพระองค์ในงานฉลองการกลับคืนพระชนมชีพ (1686-1690)

277.  การเดินรูปสิบสี่ภาคคืออะไร

277. การเดินรูปสิบสี่ภาคคืออะไร

คือการติดตามพระเยซูเจ้าบนทางกางเขนของพระองค์ ด้วยการสวดภาวนา และรำพึงถึงสิบสี่สถานเป็นกิจศรัทธาที่เก่าแก่มากในพระศาสนจักร ซึ่งปฏิบัติกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลมหาพรต และสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ (1674-1675)

276. จุดประสงค์ของการจาริกแสวงบุญคืออะไร

276. จุดประสงค์ของการจาริกแสวงบุญคืออะไร

ผู้ที่ไปจาริกแสวงบุญ “ภาวนาด้วยเท้าของเขา” และมีประสบการณ์ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมดของเขาว่าตลอดทั้งชีวิตของเขาเป็นการเดินทางสู่พระเจ้าที่ยาวนาน (1674)

275. การนมัสการพระธาตุกระทำได้หรือไม่

275. การนมัสการพระธาตุกระทำได้หรือไม่

การนมัสการพระธาตุ เป็นความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์ เป็นวิธีหนึ่งในการแสดงความเคารพ และยกย่องบุคคลที่พวกเขาเคารพบูชา การนมัสการพระธาตุของบรรดานักบุญ เป็นนมัสการที่ถูกต้องก็ต่อเมื่อสัตบุรุษสรรเสริญผลงานของพระเจ้าในบุคคล ซึ่งอุทิศตนทั้งครบเพื่อพระเจ้า (1674)

274. “ความศรัทธาที่ประชานิยม” (popular piety) มีความสำคัญอย่างไร

274. “ความศรัทธาที่ประชานิยม” (popular piety) มีความสำคัญอย่างไร

ความศรัทธาที่ประชานิยม คือการแสดงความเคารพต่อพระธาตุ การแห่ การจาริกแสวงบุญ และความศรัทธาต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธีสำคัญ ที่ทำให้ความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม ความศรัทธานี้เป็นสิ่งดี ตราบใดที่ยังคงอยู่ในพระศาสนจักร และเป็นของพระศาสนจักรนำไปสู่พระคริสตเจ้าและไม่พยายามที่จะ “เอา” สวรรค์จากผลการทำงาน มากกว่าความเชื่อในพระหรรษทานของพระเจ้า (1674-1676)

273. พระศาสนจักรยังคงกระทำการขับไล่ปีศาจหรือไม่

273. พระศาสนจักรยังคงกระทำการขับไล่ปีศาจหรือไม่

ในพิธีศีลล้างบปามีพิธีที่เรียกว่าการไล่ปีศาจเป็นการสวดภาวนาเพื่อให้ผู้รับศีลล้างบาปหลุดพ้นจากปีศาจ และมีความเข้มแข็งที่จะต่อสู้กับ “อำนาจความชั่วร้าย” ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงเอาชนะมาแล้ว การขับไล่ปีศาจที่สำคัญเป็นการสวดภาวนาด้วยอำนาจของพระเยซูเจ้า และในพละกำลังของพระองค์ ซึ่งคริสตชนผู้ได้รับศีลล้างบาปหลุดพ้นจากอิทธิพลและอำนาจของปีศาจ

271. ที่กล่าวว่า “ครอบครัวคือพระศาสนจักรขนาดย่อม” หมายความว่าอย่างไร

271. ที่กล่าวว่า “ครอบครัวคือพระศาสนจักรขนาดย่อม” หมายความว่าอย่างไร

พระศาสนจักรเป็นภาพลักษณ์ขนาดใหญ่แสดงถึงความรักของพระเจ้าในมิตรภาพของมนุษย์ ส่วนครอบครัวเป็นภาพลักษณ์ขนาดเล็ก อันที่จริง การแต่งงานจะสมบูรณ์แบบก็ต่อเมื่อเปิดกว้างรับผู้อื่น รับการมีบุตรที่พระเจ้าทรงส่งมา ยอมรับกันและกัน ในความมีน้ำใจและเป็นอยู่เพื่อผู้อื่น (1655-1657)

270. ท่าทีของพระศาสนจักรต่อผู้ที่หย่าร้างและแต่งงานใหม่เป็นอย่างไร

270. ท่าทีของพระศาสนจักรต่อผู้ที่หย่าร้างและแต่งงานใหม่เป็นอย่างไร

พระศาสนจักรยอมรับพวกเขาด้วยความรักตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า ทุกคนที่หย่าร้าง หลังจากแต่งงานในพระศาสนจักร และระหว่างที่คู่สมรสยังมีชีวิตอยู่ การที่เขาได้แต่งงานใหม่นั้น เป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับพระประสงค์ที่ชัดเจนของพระเยซูเจ้า ในเรื่องศีลสมรสที่ยกเลิกไม่ได้ และพระศาสนจักรไม่สามารถทำลายพระประสงค์นี้ได้ การละเมิดความซื่อสัตย์นี้ขัดแย้งกับ

269. สามีภรรยาที่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะหย่าร้างได้หรือไม่

269. สามีภรรยาที่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะหย่าร้างได้หรือไม่

พระศาสนจักรเคารพความสามารถของบุคคลที่จะรักษาสัญญา และผูกมัดตนเองในความซื่อสัตย์ตลอดชีวิต พระศาสนจักรทราบดีว่าคู่สมรสทุกคู่ย่อมต้องผ่านวิกฤต การพูดคุยเรื่องต่าง ๆ ด้วยกัน การสวดภาวนาร่วมกัน และการรับคำปรึกษา อาจเป็นทางออกของวิกฤตได้ เหนือสิ่งอื่นใด การระลึกว่าในศีลสมรสนั้นมีบุคคลที่สาม

268. คริสตชนคาทอลิกสามารถแต่งงานกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้หรือไม่

268. คริสตชนคาทอลิกสามารถแต่งงานกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้หรือไม่

สำหรับผู้มีความเชื่อคาทอลิก การเข้าสู่ชีวิตการแต่งงานกับบุคคลซึ่งนับถือ ศาสนาอื่น อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากสำหรับความเชื่อของเขา และสำหรับบุตรในอนาคต ด้วยความรับผิดชอบที่พระศาสนจักรมีต่อสัตบุรุษ พระศาสนจักรจึงกำหนดข้อขัดขวางในเรื่องความแตกต่างทางศาสนา ดังนั้น การแต่งงานลักษณะนี้จะสามารถกระทำอย่างถูกต้องได้ ก็ต่อเมื่อได้รับ ข้อยกเว้นพิเศษ

267. ถ้าคาทอลิกปรารถนาจะแต่งงานกับคริสตชนมิใช่คาทอลิกจะกระทำอย่างไร

267. ถ้าคาทอลิกปรารถนาจะแต่งงานกับคริสตชนมิใช่คาทอลิกจะกระทำอย่างไร

พระศาสนจักรอนุญาตให้แต่งงานกันได้ ซึ่งเรียกว่า “การแต่งงานระหว่างผู้นับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกาย” (mixed marriage) (ระหว่าง คาทอลิกและคริสตชนที่มิใช่คาทอลิก) การแต่งงานแบบนี้เรียกร้องให้ทั้งคู่มีความซื่อสัตย์พิเศษต่อพระคริสตเจ้า เพื่อมิให้ข้อสะดุดที่เกิดจากความแตกแยกระหว่างคริสตชน ซึ่งยังไม่ได้รับการเยียวยานั้น เกิดขึ้นอีกในระหว่างคู่สมรส

266. พระศาสนจักรประกอบพิธีสมรสอย่างไร

266. พระศาสนจักรประกอบพิธีสมรสอย่างไร

ตามกฎข้อบังคับแล้ว การแต่งงานต้องจัดขึ้นต่อหน้าสาธารณชน เจ้าสาวและเจ้าบ่าวจะถูกซักถามถึงความตั้งใจที่จะแต่งงาน พระสงฆ์ หรือ สังฆานุกร เป็นผู้เสกแหวนของพวกเขา เจ้าสาวและเจ้าบ่าวแลกแหวนกัน และให้คำมั่นสัญญาต่อกันว่า “จะซื่อสัตย์ต่อกันทั้งในยามสุขและในยามทุกข์ ทั้งในเวลาป่วยและเวลาสบายและปฏิญาณสัญญาต่อกันว่า

265. ทุกคนได้รับเรียกให้แต่งงานหรือไม่

265. ทุกคนได้รับเรียกให้แต่งงานหรือไม่

ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับเรียกให้แต่งงาน แม้ผู้อยู่เพียงลำพังก็สามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ พระเยซูเจ้าทรงแสดงหนทางพิเศษแก่บุคคลเหล่านี้ พระองค์ทรงเชื้อเชิญพวกเขาให้ถือโสด “เพราะเห็นแก่อาณาจักรสวรรค์” (มธ.19:12) (1618-1620)

264. สิ่งที่คุกคามคู่สมรสคืออะไร

264. สิ่งที่คุกคามคู่สมรสคืออะไร

สิ่งที่คุกคามคู่สมรสอย่างแท้จริงคือบาป ส่วนสิ่งที่รื้อฟื้นขึ้นใหม่คือ การให้อภัย และสิ่งที่ทำให้การแต่งงานมั่นคงเข้มแข็งคือการสวดภาวนา และความไว้วางใจในการประทับอยู่ของพระเจ้า (1606-1608)

263. ทำไมการแต่งงานจึงเป็นคำสัญญาที่ล้มเลิกไม่ได้

263. ทำไมการแต่งงานจึงเป็นคำสัญญาที่ล้มเลิกไม่ได้

การแต่งงานเป็นคำสัญญาที่ล้มเลิกไม่ได้ ด้วยเหตุผล 3 ประการ ประการแรก เพราะแก่นแท้ของความรักคือการมอบตนเองแก่กันและกัน โดยไม่สงวนสิ่งใดไว้ ประการที่สอง เพราะเป็นภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์อย่างไม่มีเงื่อนไขของพระเจ้าต่อสิ่งสร้างของพระองค์และประการที่สาม เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการมอบพระองค์ของพระคริสตเจ้าแก่พระศาสนจักร

261. ศีลสมรสเกิดขึ้นอย่างไร

261. ศีลสมรสเกิดขึ้นอย่างไร

ศีลสมรสเกิดขึ้นโดยคำสัญญาที่ชายและหญิงกระทำต่อพระพักตร์พระเจ้า และต่อหน้าพระศาสนจักรซึ่งพระเจ้าทรงยอมรับ รับรอง และทรงกระทำให้สมบูรณ์ ในความเป็นหนึ่งเดียวทางร่างกายของคู่สามีภรรยา เพราะพระเจ้าเองทรงเป็นผู้ผูกมัดศีลสมรสนี้ จึงทำให้การผูกมัดนี้ดำรงอยู่ จนกระทั่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่สมรสตายจากไป (1625-1631)

260. ทำไมพระเจ้าจึงกำหนดให้ชายและหญิงเป็นของกันและกัน

260. ทำไมพระเจ้าจึงกำหนดให้ชายและหญิงเป็นของกันและกัน

พระเจ้าทรงกำหนดให้ชายและหญิงเป็นของกันและกัน เพื่อพวกเขาจะได้ “ไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่เป็นเนื้อเดียวกัน” (มธ 19:6) ด้วยวิธีนี้ พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ในความรัก บังเกิดผล และเป็นเครื่องหมายของพระเจ้าผู้ทรงเป็นความรักที่หลั่งไหล และทรงรักเราอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (1601-1605) 64,400,417

259. สังฆภาพสากลของสัตบุรุษแตกต่างจากสังฆภาพที่ได้รับการบวชอย่างไร

259. สังฆภาพสากลของสัตบุรุษแตกต่างจากสังฆภาพที่ได้รับการบวชอย่างไร

โดยทางศีลล้างบาป พระคริสตเจ้าทรงทำให้เราเข้าอยู่ในอาณาจักรของ “สมณะเพื่อรับใช้พระเจ้าพระบิดาของพระองค์” (วว 1:6) โดยทางสังฆภาพสากล คริสตชนทุกคนได้รับเรียกให้ทำงานในโลก ในพระนามของพระเจ้า เพื่อนำพระพรและพระหรรษทานไปสู่โลกอย่างไรก็ตาม ในห้องชั้นบนระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย เมื่อพระคริสตเจ้าทรงมอบหมายงานให้บรรดาอัครสาวกนั้น

258. ทำไมพระศาสนจักรจำเป็นต้องให้พระสงฆ์และพระสังฆราชมีชีวิตโสด

258. ทำไมพระศาสนจักรจำเป็นต้องให้พระสงฆ์และพระสังฆราชมีชีวิตโสด

พระเยซูเจ้าทรงมีชีวิตโสด และด้วยวิธีนี้ พระองค์ทรงประสงค์แสดงความรักที่ไม่แบ่งแยกของพระองค์ต่อพระเจ้าพระบิดา การติดตามหนทางของพระเยซูเจ้าดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ ไม่แต่งงาน “เพราะเห็นแก่พระอาณาจักรสวรรค์” (มธ 19:12) เป็นเครื่องหมายของความรัก การอุทิศตนต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างสิ้นเชิง และเป็นความเต็มใจที่จะรับใช้อย่างสมบูรณ์แบบ

257. การให้เฉพาะบุรุษได้รับศีลบวชนั้นเป็นการลดเกียรติสตรีหรือไม่

257. การให้เฉพาะบุรุษได้รับศีลบวชนั้นเป็นการลดเกียรติสตรีหรือไม่

กฎที่ให้เฉพาะบุรุษรับศีลบวชได้ มิใช่เป็นการลดเกียรติสตรี ในสายพระเนตรของพระเจ้า ชายและหญิงมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แต่พวกเขามีหน้าที่และพระพรพิเศษ แตกต่างกัน พระศาสนจักรมองตนเอง ในขอบเขตความจริงที่ว่า พระเยซูเจ้าทรงเลือกเฉพาะบุรุษให้อยู่ในการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย เมื่อทรงตั้งสังฆภาพสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงประกาศเมื่อ ค.ศ. 1994 ว่า

256. ผู้ใดสามารถรับศีลบวชได้

256. ผู้ใดสามารถรับศีลบวชได้

ผู้ที่สามารถรับศีลบวชอย่างถูกต้องได้ คือผู้ที่ได้รับศีลล้างบาป เพศชาย และพระศาสนจักรเรียกเขาให้เป็นสังฆานุกร พระสงฆ์ หรือพระสังฆราช (1577-1578)

255. การบวชสังฆานุกรดำเนินไปอย่างไร

255. การบวชสังฆานุกรดำเนินไปอย่างไร

ในการบวชสังฆานุกร ผู้สมัครได้รับแต่งตั้งให้รับใช้ในลักษณะพิเศษภายใต้ศีลบวช เพราะเขาแสดงให้เห็นถึงพระคริสตเจ้าผู้เสด็จมา “มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้แต่มารับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่เพื่อมวลมนุษย์” (มธ.20:28) ในพิธีบวช มีการกล่าวว่า “ในฐานะศาสนบริกรของพระวาจาของพระแท่น และของความรักเมตตา (สังฆานุกร) จะกระทำตนเป็นผู้รับใช้ของทุกคน”