192. พระศาสนจักรเปลี่ยนแปลงและฟื้นฟูพิธีกรรมได้หรือไม่

192. พระศาสนจักรเปลี่ยนแปลงและฟื้นฟูพิธีกรรมได้หรือไม่

พิธีกรรมมีทั้งส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ คือส่วนที่มาจากพระเจ้า เช่น พระวาจาของพระเยซูเจ้า ในงานเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย และส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งพระศาสนจักรอาจเปลี่ยนแปลงตามโอกาส อย่างไรก็ตามเหนือสิ่งใด ธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าต้องได้รับการประกาศเฉลิมฉลอง

190. วัดหรือบ้านภาวนาของคริสตชนคืออะไร

190. วัดหรือบ้านภาวนาของคริสตชนคืออะไร

วัดหรือบ้านาภาวนาของคริสตชน เป็นทั้งเครื่องหมายความเป็นหนึ่งเดียวกันของประชากรในพระศาสนจักร ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง และเป็นสัญลักษณ์ถึงบ้านในสวรรค์ ซึ่งพระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้สำหรับเราทุกคน เราชุมนุมกันในบ้านของพระเจ้า เพื่อสวดภาวนาร่วมกันหรือภาวนาส่วนตัว และเพื่อเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีลมหาสนิท (1179-1186, 1197-1199)

189. พิธีกรรมต้องการพื้นที่เพื่อการเฉลิมฉลองอย่างไร

189. พิธีกรรมต้องการพื้นที่เพื่อการเฉลิมฉลองอย่างไร

อาศัยชัยชนะของพระคริสตเจ้า พระองค์ทรงเข้าถึงทุกหนแห่งในโลกนี้ พระองค์ผู้ทรงเป็นพระวิหารแท้และเป็นการถวายบูชาแด่พระเจ้าใน “พระจิตเจ้าและตามความจริง” (ยน 4:24) ไม่ทรงยึดติดกับสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม โลกของคริสตชนเต็มไปด้วยวัดและเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์มากมาย ทั้งนี้เพราะมนุษย์ต้องการสถานที่เฉพาะเพื่อพบปะ

188. พิธีกรรมทำวัตรคืออะไร

188. พิธีกรรมทำวัตรคืออะไร

พิธีกรรมทำวัตร คือการสวดภาวนาที่เป็นสากล และสาธารณะของพระศาสนจักร การอ่านพระคัมภีร์นำบุคคลให้ภาวนาอย่างลึกซึ้งในธรรมล้ำลึกแห่งชีวิตพระเยซูคริสตเจ้า การภาวนาพิธีกรรมทำวัตรเป็นการให้พระเจ้าพระตรีเอกภาพทรงมีโอกาสค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงผู้ภาวนาและโลกของเราในทุก ๆ ชั่วโมงของแต่ละวัน พิธีกรรมทำวัตรเป็นการภาวนา มิใช่สำหรับพระสงฆ์และนักบวชเท่านั้น

187. วันอาทิตย์สำคัญอย่างไร

187. วันอาทิตย์สำคัญอย่างไร

วันอาทิตย์เป็นศูนย์กลางเวลาของคริสตชน ในวันอาทิตย์เราเฉลิมฉลองการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า และทุก ๆ วันอาทิตย์ก็เป็นวันฉลองปัสกาย่อย ๆ (1163-1167, 1193)

186. ปีพิธีกรรม (ปีของพระศาสนจักร) คืออะไร

186. ปีพิธีกรรม (ปีของพระศาสนจักร) คืออะไร

ปีพิธีกรรม หรือปีของพระศาสนจักร คือการทำตามธรรมล้ำลึกในชีวิตของพระคริสตเจ้า นับตั้งแต่การบังเกิดเป็นมนุษย์ จนถึงการเสด็จกลับมาครั้งที่สองในพระสิริรุ่งโรจน์ ปีพิธีกรรมเริ่มจากเทศกาลเตรียมรับเสด็จ เวลาแห่งการรอคอยองค์พระผู้เป็นเจ้า และมีจุดสูงสุดแรกในเทศกาลพระคริสตสมภพ และจุดที่สองซึ่งสูงสุดและยิ่งใหญ่กว่า

182. เพราะเหตุใดเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในพิธีกรรมจึงต้องใช้คำพูดด้วย

182. เพราะเหตุใดเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในพิธีกรรมจึงต้องใช้คำพูดด้วย

การเฉลิมฉลองพิธีกรรมหมายถึงการพบพระเจ้าให้พระองค์ทรงกระทำ เราฟังและตอบรับพระองค์ การสนทนาเช่นนี้มักต้องอาศัยท่าทางและคำพูดเสมอ (1153-1155, 1190)

181. ทำไมในพิธีกรรมจึงมีเครื่องหมายและสัญลักษณ์มากมาย

181. ทำไมในพิธีกรรมจึงมีเครื่องหมายและสัญลักษณ์มากมาย

พระเจ้าทรงทราบว่าเรามนุษย์มิได้มีเพียงจิตใจเท่านั้น แต่มีส่วนที่เป็นร่างกายด้วย เราจึงต้องการเครื่องหมายและสัญลักษณ์ เพื่อเข้าใจและบรรยายความเป็นจริงภายในหรือฝ่ายจิตใจได้ (1145-1152)

180. เพราะเหตุใดบางครั้งจึงกล่าวว่ามิสซาเป็น “การถวายบูชา”

180. เพราะเหตุใดบางครั้งจึงกล่าวว่ามิสซาเป็น “การถวายบูชา”

ก่อนสิ่งอื่นใด การถวายบูชาเป็นกิจ ซึ่งพระเจ้าประทานแก่เรา และจากนั้น เราจึงถวายบูชาแด่พระเจ้า พระเจ้าทรงมอบพระองค์เองแก่เรา ภายใต้รูปแบบเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ เพื่อที่เราจะกระทำเช่นเดียวกัน คือถวายตัวเราเองแด่พระองค์จนหมดสิ้น (1145-1192)

179. ใครเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม

179. ใครเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม

พิธีกรรมทุกประการในโลกนี้ พระคริสตเจ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าเองทรงเป็นผู้เฉลิมฉลองพิธีกรรมแห่งจักรวาล ซึ่งรวมบรรดาทูตสวรรค์และมนุษย์ ทั้งผู้เป็นและผู้ตาย ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทั้งสวรรค์และแผ่นดินพระสงฆ์และผู้มีความเชื่อต่างมีส่วนร่วมในการถวายบูชาของพระคริสตเจ้า ในลักษณะที่แตกต่างกัน (1136-1139)

178. หากผู้โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ไม่เหมาะสมศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นย่อมไร้ผลจริงหรือ

178. หากผู้โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ไม่เหมาะสมศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นย่อมไร้ผลจริงหรือ

ไม่จริง ศีลศักดิ์สิทธิ์บังเกิดผล เมื่อพิธีการโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นเสร็จสิ้นลง (ex opera operato) กล่าวคือ ไม่ขึ้นอยู่กับความประพฤติทางศีลธรรม หรือสภาพฝ่ายจิตของศาสนบริกร ขอเพียงแค่ศาสนบริกรตั้งใจประกอบพิธีกรรมตามที่พระศาสนจักรกำหนดเท่านั้น (1127-1128,1131)

177. ทำไมจึงจำเป็นต้องมีความเชื่อเพื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ

177. ทำไมจึงจำเป็นต้องมีความเชื่อเพื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ

ศีลศักดิ์สิทธิ์มิใช่มายากล ศีลศักดิ์สิทธิ์จะบังเกิดผลได้ ก็ต่อเมื่อผู้นั้นเข้าใจและยอมรับด้วยความเชื่อ ศีลศักดิ์สิทธิ์มิได้เรียกร้องให้มีความเชื่อเท่านั้น แต่ยังทำให้ความเชื่อมั่นคง และแสดงออกถึงความเชื่อนั้นด้วย (1122-1126)

176. ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการใดที่รับได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต

176. ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการใดที่รับได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต

ศีลล้างบาป ศีลกำลัง และศีลบวช ศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ประทับตราซึ่งลบล้างมิได้ ในวิญญาณคริสตชน ศีลล้างบาปและศีลกำลังซึ่งรับเพียงครั้งเดียว ทำให้เขาเป็นบุตรของพระเจ้า และเป็นเหมือนพระคริสตเจ้าตลอดไป เช่นเดียวกับศีลบวช ซึ่งเป็นตราประทับตลอดไปในคริสตชนชาย (1121)

175. เพราะเหตุใดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ จึงเป็นของพระศาสนจักร

175. เพราะเหตุใดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ จึงเป็นของพระศาสนจักร

ศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นพระพรของพระเจ้าที่ทรงมอบแก่พระศาสนจักร พระศาสนจักรจึงมีหน้าที่ให้บริการศีลศักดิ์สิทธิ์ และปกป้องมิให้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด (1117-1119,1131)

174. ทำไมพระเจ้าต้องประทานศีลศักดิ์สิทธิ์แก่เราด้วย

174. ทำไมพระเจ้าต้องประทานศีลศักดิ์สิทธิ์แก่เราด้วย

เราสามารถและเราควรจะไปหาพระเจ้าด้วยความรู้สึกประสารทสัมผัสทั้งสิ้นของเรา มิใช่ด้วยสติปัญญาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงประทานพระองค์เองแก่เรา โดยทางเครื่องหมายต่าง ๆ ในโลก โดยเฉพาะในปังและเหล้าองุ่น พระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า (1084,1146-1152)

173. ทำไมเราจึงจำเป็นต้องได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์

173. ทำไมเราจึงจำเป็นต้องได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์

เราจำเป็นต้องได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ชีวิตมนุษย์อันต่ำต้อยเล็กน้อยนี้เจริญขึ้น และคล้ายคลึงกับพระเยซูเจ้า โดยอาศัยพระองค์เรากลายเป็นบุตรของพระเจ้าในเสรีภาพและพระสิริรุ่งโรจน์ (1129)

171. สาระสำคัญของพิธีกรรมทุกประการคืออะไร

171. สาระสำคัญของพิธีกรรมทุกประการคืออะไร

สิ่งสำคัญประการแรกของพิธีกรรมคือความเป็นหนึ่งเดียวหรือมิตรภาพกับพระเยซูคริสตเจ้า ไม่เฉพาะแต่ในพิธีบูชามิสซาเท่านั้น พิธีกรรมทุกประการ ล้วนเป็นการฉลองปัสกาเล็ก ๆ พระเยซูเจ้าเสด็จผ่านจากความตายสู่ชีวิต และทรงเฉลิมฉลองการข้ามผ่านนี้พร้อมกับเขา (1085)

170. ต้นกำเนิดลึกซึ้งที่สุดของพิธีกรรมคืออะไร

170. ต้นกำเนิดลึกซึ้งที่สุดของพิธีกรรมคืออะไร

ต้นกำเนิดลึกซึ้งที่สุดของพิธีกรรมคือพระเจ้า เป็นงานเลี้ยงนิรันดรแห่งความรักในสวรรค์ อันเป็นความชื่นชมยินดีของพระบิดา พระบุตร และพระจิต เพราะพระเจ้าทรงเป็นความรัก พระองค์จึงทรงปรารถนาให้เรามีส่วนร่วมในงานเลี้ยงฉลองความชื่นชมยินดีของพระองค์ และเพื่อประทานพระพรของพระองค์แก่เรา (1077-1109)

168. ทำไมพิธีกรรมจึงมีความสำคัญมากในชีวิตของพระศาสนจักรและชีวิตส่วนบุคคล

168. ทำไมพิธีกรรมจึงมีความสำคัญมากในชีวิตของพระศาสนจักรและชีวิตส่วนบุคคล

พิธีกรรมเป็นจุดสูงสุดของกิจการทั้งหลายในพระศาสนจักร ขณะเดียวกันพิธีกรรมเป็นบ่อเกิดแห่งพละกำลังทั้งมวลของพระศาสนจักรด้วย (พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 10 ) (1074)