ความยุติธรรมทางสังคมจะเกิดขึ้น ณ ที่ซึ่ง ศักดิ์ศรีของทุกคนได้รับการเคารพ ซึ่งหมายถึงว่าสิทธิของพวกเขาได้รับการเคารพและยอมรับ รวมทั้ง สามารถมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรมของสังคมอย่างเต็มที่ด้วย (1928-1933, 1943-1944)
พื้นฐานความยุติธรรมทุกอย่าง คือการเคารพต่อ ศักดิ์ศรีอันแบ่งแยกมิได้ของบุคคล "ซึ่งพระผู้สร้างได้ มอบหมายให้เรามีหน้าที่ปกป้องและส่งเสริม ดังนั้น ในประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัย มนุษย์ชายหญิง ทุกคนจึงต้องมีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งกันและกัน" (สมเด็จ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ความห่วงใยเรื่อง สังคม ค.ศ. 1987) สิทธิมนุษยชนเป็นผลสืบเนื่องจาก ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และไม่มีรัฐใดสามารถยกเลิกหรือ เปลี่ยนแปลงได้ รัฐและผู้มีอํานาจที่เหยียบย่ำสิทธิ เหล่านี้ ย่อมเป็นระบบปกครองที่ อยุติธรรม และ สูญเสียอํานาจการปกครอง อย่างไรก็ตามสังคมมิได้ สมบูรณ์แบบด้วยกฎหมาย แต่ด้วยความรักต่อเพื่อน มนุษย์ ซึ่งทุกคนสามารถทําได้คือ "มองเพื่อนบ้าน (โดยไม่มีข้อยกเว้น) เหมือนมองตนเอง" (GS 27,1) → 280